สายฝนหยุดร่วงหล่นเมื่อสักครู่นี้เอง แดดบ่ายประจำฤดูได้กลับมาส่องสว่างอีกครั้ง สองวันในบ้านหลังเล็ก บนพื้นที่อันอบอุ่น บรรดานักกิจกรรม LBTQ+ นั่งนอนล้อมวง จิบกาแฟ ดื่มบทสนทนา อีกครั้งที่เหล่านักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน การเมือง และความเท่าเทียมทางเพศ ได้มารวมตัวกัน พูดคุยเรื่องราวความสุขทางเพศ และ sex toy ในแง่มุมของผู้มีเพศกำเนิดเป็นหญิง หากแต่วิถีทาง การแสดงออก และอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGIESC : Sexual Orientation , Gender Identity and Expression…
Highlight
-
-
Highlightความสุขและสุขภาพนักกิจกรรมบทความ
นักกิจกรรมกับการดูแลความสุขของเราและเพื่อน
by หลังบ้านby หลังบ้านนักกิจกรรมทุกคนควรค่าแก่การพักผ่อนและการยืนยันที่จะดูแลตัวเองในรูปแบบที่เหมาะกับเรา มันคือส่วนหนึ่งของการบำรุงรักษาขบวนการในระยะยาว หากการยืนยันที่จะดูแลตัวเองเป็นเรื่องยากเกินไป ลองยืนยันที่จะดูแลเพื่อนร่วมขบวนการของเรา มาร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการเคลื่อนไหวในแบบที่โอบอุ้มความสุขของเราและเพื่อนกัน
-
Highlightความสุขและสุขภาพนักกิจกรรมพอดคาสต์
ปูเสื่อดูแล EP01 – Digital Wellbeing สำรวจชีวิตและความสุขในพื้นที่ดิจิตัล
by หลังบ้านby หลังบ้านชวนทำความรู้จักคำใหม่ *Digital Wellbeing* ในวันที่พื้นที่ทางดิจิทัลกระทบกับสุขภาพและความสุขของเรา แล้วโซเชียลมีเดียเป็นแค่เครื่องมือจริงหรือ เราควบคุมมันได้แค่ไหน เมื่อพื้นที่ดิจิทัลเรียกร้องให้เราสนใจมากเกินจำเป็น เรากลายเป็นผู้เสพติดโดยไม่รู้ตัวหรือเปล่า เราจะทำความเข้าใจพื้นที่ตรงนี้ได้อย่างไร แล้วนักกิจกรรมอย่างเราจะใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ออนไลน์อย่างไรให้สมดุล
-
Highlightพอดคาสต์เฟมินิสต์ในชีวิตประจำวัน
ปูเสื่อคุย EP01 – คุยกับหนิง อำพร: สิทธิและสุขภาพใจของผู้หญิงในชุมชนปกาเกอะญอ
by หลังบ้านby หลังบ้านคุยกับ อำพร ไพรพนาสัมพันธ์ นักกิจกรรมผู้หญิงชนเผ่า ถึงประสบการณ์ชีวิตในฐานะผู้หญิงชนเผ่าที่ตั้งคำถามกับขนบความเชื่อ การก้าวข้าม และแรงบันดาลใจในการสร้างพื้นที่ดูแลสุขภาพทั้งกายและใจของผู้หญิงในชุมชน
-
Highlightบทความเฟมินิสต์ในชีวิตประจำวัน
เปล่งความเงียบเป็นภาษา แปลงความเฉยชาเป็นการกระทำ
by หลังบ้านby หลังบ้านบทความแปลจาก “The transformation of silence into language and action” บทความของออร์เดย์ ลอร์ด นักเขียน กวีเฟมินิสต์-เลสเบียนผิวสี บทความพูดถึงการแปรเปลี่ยน จากความเงียบเป็นภาษาและการกระทำ โดยเฉพาะความเงียบของผู้หญิงและคนที่ถูกทำให้เป็นชายขอบ การที่จะทลายความเงียบ และแปลงเป็นภาษาและการกระทำได้นั้น เป็นเรื่องที่น่ากลัว ทว่าระหว่างทางนั้นมีความเติบโต ความพยายาม ความล้มลุกคลุกคลานที่จะส่งเสียงออกมา แม้ว่าจะกลัวก็ตาม
-
ภาวะหมดพลัง หมดไฟ หรือ burnout มีโอกาสเกิดขึ้นกับนักกิจกรรมหรือผู้ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสังคม เพราะด้วยการทำงานที่เผชิญกับความกดดันอย่างต่อเนื่อง หรือการเผชิญเรื่องราวความรุนแรง และการมีใจอย่างมากกับเรื่องที่ทำ
หากคุณกำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังมีภาวะหมดพลังอยู่หรือเปล่า ชวนมาทำแบบทดสอบ เพื่อดูแลสุขภาพกายใจของตัวเราและขบวนการ
-
ความเจ็บป่วยทางใจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับนักปกป้องสิทธิ คนที่ทำงานกับความทุกข์ยากทางสังคม และคนที่ถูกผลักให้เป็นชายขอบ ไม่ใช่ความผิดปกติ ไม่ใช่ความอ่อนแอ และไม่ได้เกิดจากการคิดมากไปเอง เป็นสิ่งที่เกิดจากความเหนื่อยล้ากับการทำงานที่ควรให้ความใส่ใจ ความไม่สบายทางจิตใจและอารมณ์หายได้ และควรใส่ใจดูแล ไม่ต่างจากการดูแลสุขภาพทางร่างกาย
-
หลายคนคงเคยเผชิญช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความรู้สึก ทั้งทุกข์ใจ เศร้า ผิดหวัง เสียใจ สับสน ลังเลสงสัยและจมดิ่งอยู่กับอารมณ์ลบ ในสภาวะเหล่านั้นเราอาจจะอยากได้คำแนะนำ อยากมีพื้นที่ระบาย อยากสบถต่อว่าด่าทอคู่กรณี อยากมีคนเข้าข้าง
-
ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ร้อนระอุ กับเพื่อนเราที่ยังคงไม่ได้รับสิทธิประกันตัว สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตัวเราที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์/ข่าวสารที่มีผลให้หดหู่ สิ้นหวังไม่พ้นแต่ละวัน หรือกระทั่งรู้สึกตัวเองทำอะไรไม่ได้เลย พาให้เหนื่อยล้ากายใจ หรือหมดพลัง ในสถานการณ์การเมืองสังคมเช่นนี้ เราจะดูแลตัวเองยังไงให้ไม่หมดพลังไปเสียก่อน และยังคงพลังของเราไว้อยู่ได้
-
Highlightบทความเฟมินิสต์ในชีวิตประจำวัน
“ฉันไม่สกปรก” เมื่อเลือดเดือนผู้หญิงส่งเสียง
by หลังบ้านby หลังบ้านชวนผู้หญิงคุยเรื่อง “เลือด” ในแต่ละ “เดือน” ของตัวเอง เรื่องของร่างกายผู้หญิงที่ต้องประสบทุกๆ เดือน แต่กลับกลายเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงน้อยมาก แม้กระทั่งในกลุ่มเพื่อนผู้หญิงด้วยกันเอง ชวนมาพูดคุยในสิ่ง “ต้องห้าม” เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของผู้หญิงที่จะเรียกคืนอำนาจในเนื้อตัวร่างกายของเรา และสร้างพลังความรู้ที่มาจากร่างกาย จากประสบการณ์ตรงของผู้หญิงเอง