คำเตือน (Trigger Warning) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายและการทำร้ายตัวเอง หากจิตใจยังไม่พร้อม ข้ามไปก่อน ไว้ค่อยกลับมาอ่าน “เราเป็นผู้ดูแลแฝดของเราซึ่งป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เขามีอาการฆ่าตัวตายและทำร้ายตัวเองตั้งแต่เด็ก เช่น เราสองคนเคยไปว่ายน้ำเล่นกับเพื่อน เพื่อนก็แหย่ เขาโกรธ ตะโกนบอกว่าจะฆ่าตัวตาย แล้วก็บีบจมูก ดำลงไป แต่ด้วยกลไกของร่างกาย สุดท้ายเขาก็ขึ้นมาหายใจ เพื่อนก็ขำว่าไม่เห็นทำจริงเลย แต่เราเห็นแล้วตกใจ เพราะเราว่ามันน่ากลัวที่เขาอยากตาย แล้วเขาทำบ่อย เขาถูกเรียกว่าเป็นเด็กมีปัญหา เรียนไม่ได้ โกหกครู ไม่ทำการบ้าน เขาโดนแกล้งบ่อยๆ ในขณะที่เพื่อนเล่นกับเราได้ แต่เล่นกับแฝดไม่ได้ เราเรียนได้…
หลังบ้าน

หลังบ้าน
หากคุณคือนักกิจกรรมทางสังคม และต้องการร่วมเรียนรู้และขับเคลื่อนให้เกิดการตระหนักในการดูแลซึ่งกันและกัน สุขภาพ ความเป็นธรรมทางเพศและเพศวิถี และความปลอดภัยทางใจของนักกิจกรรมในกลุ่มของคุณ ติดต่อเราผ่านเพื่อนร่วมขบวนการของคุณที่รู้จักกับเครือข่ายของเรา หรืออีเมลหาเราได้ที่ langban.website@gmail.com
-
-
“เรามีความฝันว่าอยากมีลูก อยากมีครอบครัวมาตลอด จนเราอายุ 28 ปี ได้เรียนต่อต่างประเทศ มีแฟนที่นู้น ก็คิดว่าอายุเท่านี้เราควรเรียนรู้เรื่องเซ็กซ์ได้แล้วละ เลยลองทำกับแฟน ปรากฏว่าของเขามันเข้าไม่ได้ พยายามแหวกยังไงก็ไม่เข้า อือๆ ก็ไม่เป็นไร คงเป็นเพราะครั้งแรก ก็ทำกันข้างนอกแทน แต่ไม่ว่าจะพยายามกี่ครั้งก็ไม่สำเร็จ หลายครั้งหลังการมีเซ็กซ์ เราร้องไห้น้ำตาเปียกหมอน แม้เขาจะบอกว่าไม่เป็นไรนะ แต่ไม่เคยมีโอกาสได้คุยเรื่องนี้กันแบบเปิดอกเลย ตอนที่เลิกกันเลยไม่แน่ใจว่าเลิกกันเพราะเรื่องนี้หรือเปล่า หลังจากนั้นเราก็แสวงหาโอกาสที่จะมีอะไรกับใครมาเรื่อยๆ แต่ก็ยังมีไม่ได้ ไม่ว่ากับใครก็ตาม มันเจ็บมาก เวลาเราเปิดหนังสือเกี่ยวกับอนาโตมี่ของจิ๋มที่มีแคมนอก แคมใน เยื่อพรหมจรรย์ ซึ่งเป็นรูปภาพที่แสดงความหลากหลายของจิ๋มแบบต่างๆ หนังสือก็แนะนำให้ส่องกระจกดูว่าจิ๋มเราเหมือนหรือต่างกับที่เขาอธิบายอย่างไร…
-
เรื่องสั้นเฟมินิสต์
เหล่าทวยเทพทั้งหลาย พวกคุณเป็นอะไรกับเมนส์ของฉันนักหนา ?
by หลังบ้านby หลังบ้าน“วันนี้เพชรมีเมนส์หรือเปล่า ?” “อื้อ เพิ่งมาเมื่อวานน่ะ” “งั้นเหรอ…” ป๊าของฉันทำหน้าตาเคร่งเครียดก่อนจะหันไปคุยกับแม่ “พาลูกไปไว้ที่ร้านเน็ตก่อนก็แล้วกัน” เป็นแบบนี้ทุกที ฉันได้แต่เก็บความเหนื่อยหน่ายไว้ในใจ มันเป็นแบบนี้มาเกือบสองปีแล้วตั้งแต่ที่ฉันเริ่มมีประจำเดือนตอนอายุ 11 ทุกครั้งที่ศาลเจ้ามีงานสำคัญ ไม่ว่าจะลูกศิษย์มาหาหรืองานประจำปี ถ้าฉันมีประจำเดือนล่ะก็ จะต้องวุ่นวายพาฉันไปฝากคนนั้นที คนนี้ที ไม่ก็อินเตอร์เน็ทคาเฟ่ใกล้บ้าน มันก็โอเคแหละ เพราะอย่างน้อยฉันก็ได้เล่นเกมโปรดอยู่ในร้านทั้งวัน จนกว่าป๊าแม่จะเสร็จธุระที่ศาลเจ้ายังไงล่ะ บ้านฉันมีศาลเจ้าอยู่สองศาสนา คือพุทธนิกายมหายาน และพราหมณ์ – ฮินดู เป็นสิ่งที่ฉันคุ้นชินตั้งแต่ยังจำความไม่ได้ด้วยซ้ำ ขวามือจะมีโต๊ะไม้อย่างดีสำหรับเทพเซียนที่ชื่อ ‘ปึงเถ่ากง’ เมื่อป๊าจะต้องเชิญเทพเซียนมาเข้าร่างตนเอง หรือที่เรียกว่า…
-
เริ่มต้นด้วยการยืดเหยียดคลายไหล่และคอแบบง่ายๆ จากนั้นพาไปนอน คลายหน้า กดจุดรอบตา หายใจไล่สารพิษตกค้างในร่างกาย และตามต่อมน้ำเหลืองสำคัญ ผ่อนคลาย… นอน หรือตื่น ตามความสบายใจ
-
Highlightบทความเฟมินิสต์ในชีวิตประจำวันเวิร์คชอป
จิบกาแฟกลางวงคุย ความสุขทางเพศและ Sex toy
by หลังบ้านby หลังบ้านสายฝนหยุดร่วงหล่นเมื่อสักครู่นี้เอง แดดบ่ายประจำฤดูได้กลับมาส่องสว่างอีกครั้ง สองวันในบ้านหลังเล็ก บนพื้นที่อันอบอุ่น บรรดานักกิจกรรม LBTQ+ นั่งนอนล้อมวง จิบกาแฟ ดื่มบทสนทนา อีกครั้งที่เหล่านักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน การเมือง และความเท่าเทียมทางเพศ ได้มารวมตัวกัน พูดคุยเรื่องราวความสุขทางเพศ และ sex toy ในแง่มุมของผู้มีเพศกำเนิดเป็นหญิง หากแต่วิถีทาง การแสดงออก และอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGIESC : Sexual Orientation , Gender Identity and Expression…
-
Highlightความสุขและสุขภาพนักกิจกรรมบทความ
นักกิจกรรมกับการดูแลความสุขของเราและเพื่อน
by หลังบ้านby หลังบ้านนักกิจกรรมทุกคนควรค่าแก่การพักผ่อนและการยืนยันที่จะดูแลตัวเองในรูปแบบที่เหมาะกับเรา มันคือส่วนหนึ่งของการบำรุงรักษาขบวนการในระยะยาว หากการยืนยันที่จะดูแลตัวเองเป็นเรื่องยากเกินไป ลองยืนยันที่จะดูแลเพื่อนร่วมขบวนการของเรา มาร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการเคลื่อนไหวในแบบที่โอบอุ้มความสุขของเราและเพื่อนกัน
-
ความสุขและสุขภาพนักกิจกรรมพอดคาสต์
ปูเสื่อนอน EP02 – ผืนดินโอบอุ้ม ปลอดภัย มั่นคง
by หลังบ้านby หลังบ้าน#ปูเสื่อนอน EP02 – พานอนให้ผืนดินโอบอุ้มเรา สำหรับดูแลความวิตกกังวล ผ่อนคลายและเติมพลังผ่านการเชื่อมต่อกับพลังโอบอุ้มของผืนดิน ทั้งพาดูแลอุ้งเชิงกราน หลัง หัวใจ และจุดสะท้อนบนใบหน้า ก่อนจะจบด้วยการเติมความรักให้ตัวเอง
-
ความสุขและสุขภาพนักกิจกรรมบทความเครื่องมือ
สัญญาณเมื่อท่วมท้นด้วยข้อมูลข่าวสาร
by หลังบ้านby หลังบ้านการติดตามข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจดจ่อกับสถานการณ์ตึงเครียดทางสังคมการเมือง ความรุนแรง การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและร่างกายของเราไม่มากก็น้อย
การสำรวจสัญญาณเตือนจากร่างกาย ความรู้สึก ความคิดของเรา จึงเป็นแนวทางอย่างง่ายที่สามารถใช้สำรวจผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเราที่เกิดจากกิจกรรมเหล่านี้ พร้อมกับคำแนะนำในการดูแลตัวเองเบื้องต้น
-
Highlightความสุขและสุขภาพนักกิจกรรมพอดคาสต์
ปูเสื่อดูแล EP01 – Digital Wellbeing สำรวจชีวิตและความสุขในพื้นที่ดิจิตัล
by หลังบ้านby หลังบ้านชวนทำความรู้จักคำใหม่ *Digital Wellbeing* ในวันที่พื้นที่ทางดิจิทัลกระทบกับสุขภาพและความสุขของเรา แล้วโซเชียลมีเดียเป็นแค่เครื่องมือจริงหรือ เราควบคุมมันได้แค่ไหน เมื่อพื้นที่ดิจิทัลเรียกร้องให้เราสนใจมากเกินจำเป็น เรากลายเป็นผู้เสพติดโดยไม่รู้ตัวหรือเปล่า เราจะทำความเข้าใจพื้นที่ตรงนี้ได้อย่างไร แล้วนักกิจกรรมอย่างเราจะใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ออนไลน์อย่างไรให้สมดุล
-
Highlightพอดคาสต์เฟมินิสต์ในชีวิตประจำวัน
ปูเสื่อคุย EP01 – คุยกับหนิง อำพร: สิทธิและสุขภาพใจของผู้หญิงในชุมชนปกาเกอะญอ
by หลังบ้านby หลังบ้านคุยกับ อำพร ไพรพนาสัมพันธ์ นักกิจกรรมผู้หญิงชนเผ่า ถึงประสบการณ์ชีวิตในฐานะผู้หญิงชนเผ่าที่ตั้งคำถามกับขนบความเชื่อ การก้าวข้าม และแรงบันดาลใจในการสร้างพื้นที่ดูแลสุขภาพทั้งกายและใจของผู้หญิงในชุมชน