“พี่คะ หนูคิดว่า หนูน่าจะมีฐานทำงานกับผู้หญิงและสนใจเรื่องการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้หญิงมานานแล้วค่ะ”
“ยังไงคะ เล่าให้ฟังหน่อยได้มั้ย” …
วันนี้เป็นวันหยุด อยู่ในช่วงรอยต่อของโปรเจกต์ใหม่ เรากับเพื่อนร่วมงานในทีมอยู่ระหว่างพักงานเลยชวนกันไปนั่งเล่นที่ร้านคาเฟ่ริมคลองแห่งหนึ่งที่อยู่ในละแวกชุมชนของพวกเราเพื่อพักผ่อน
“หนูมีโอกาสฟังเรื่องเมียน้อย เมียหลวงเยอะมากเลยค่ะ ตอนที่หนูดูดวงก่อนหน้านี้”
เราหูผึ่งทันที เมื่อได้ยินว่า เพื่อนร่วมงานของเรามีประสบการณ์การรับฟังผู้หญิงที่มีปัญหามามากมาย แม้เราจะทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่งแล้ว เราก็ยังไม่เคยฟังเรื่องราวนี้ของเธอ
“หนูว่า หนูเข้าใจผู้หญิงที่เป็นเมียน้อยและเมียหลวงนะพี่ หนูคิดว่าชีวิตของพวกเค้าน่าจะมีความสุขขึ้นถ้ามีโอกาสได้เจอกับคนที่เค้ารัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ชายที่เป็นคนรักที่ไม่เห็นแก่ตัว”
เราเลยถามกลับไปว่า แล้วเพื่อนร่วมงานของเราเคยมีผลงานอะไรที่เธอรู้สึกประทับใจมาก ๆ
“หนูเคยพาพี่คนนึงที่มาดูดวงกับหนูไปคลอดลูกค่ะ ตอนนั้นหนูบอกเค้าว่าเค้าจะท้องนะ แต่เค้าก็ไม่เชื่อหนู หนูเข้าใจได้นะคะพี่ หนูเป็นหมอดูทำนายดวง” เธออธิบาย
ตกลง ผู้หญิงคนนั้นเป็นยังไงต่อ เราถามด้วยความเผือกอย่างแรงกล้า “ตกลงพี่เค้าท้องมั้ยคะ”
“อีกเดือนนึงเค้าก็ท้องจริง ๆ ค่ะพี่ ผู้ชายที่มามีอะไรกับเค้าก็มีเมียแล้ว พอผู้ชายรู้ ผู้ชายมันชิ่งหนีหายไปเลย แล้วพี่เค้าก็ไม่ได้ทำอะไรนะ ไม่ได้รู้ว่าจะติดต่อผู้ชายกลับได้ยังไง เค้าคิดเอาเองด้วยว่าวันนึงเค้าอาจจะไปแท้งเอง”
เราถามต่อ “แล้วตอนนั้นน้องช่วยเค้ายังไงต่อ น้องเห็นด้วยกับเรื่องทำแท้งปลอดภัยมั้ยถ้าเค้าไม่พร้อม หรือว่าน้องกลัวบาป”
เพื่อนร่วมงานเราตอบ “หนูเข้าใจเรื่องทำแท้งนะพี่ หนูไม่โอเคเลย ถ้าเด็กต้องเกิดมาแบบไม่พร้อม เพราะหนูคือเด็กคนนั้นของพ่อกับแม่เหมือนกัน หนูก็เลยบอกเค้าไปค่ะพี่ ว่าเค้ามีทางเลือกแบบนี้ที่มันโอเค แต่เค้าก็ไม่ได้เลือกทำทางนี้เลยนะ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้พร้อม เค้าไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะต้องทำยังไงถ้าเด็กคลอดมา”
เรานั่งฟังและพยายามทำความเข้าใจกับปัญหาของผู้หญิงคนนั้นต่อ
“สุดท้ายคือหนูก็พาเค้ามาอยู่ด้วย พาเค้าไปคลอดลูกที่โรงบาล เค้าไม่มีน้ำนม หนูก็ต้องหานมให้เด็ก โชคดีที่มีเพื่อนของพี่เค้าหิ้วกาต้มน้ำร้อนขึ้นรถเมล์มาฝาก เพราะบอกว่าจะเอาไว้ให้พี่แกชงนมให้หลาน คือมันไม่พร้อมเลยค่ะ แต่พอมันผ่านไปหนูคิดแล้วก็ขำตัวเองนะพี่ หนูทำไปได้ยังไงก็ไม่รู้ สุดท้ายหนูเป็นคนตั้งชื่อให้ลูกชายเค้า พาไปแจ้งเกิดเอง เสร็จสรรพเลยค่ะ”
เธอบอกชื่อจริงที่เธอมอบให้เด็กคนนั้นด้วยความภาคภูมิใจพร้อมกับทั้งหัวเราะยาว
“หนูไม่รู้หรอกนะคะ ว่าหนูจะเข้าใจหลักการเฟมินิสต์จริง ๆ รึเปล่า หนูไม่ได้เรียนอะไรพวกนี้มา”
“ในความคิดหนูนะ หนูแค่ไม่อยากเห็นผู้หญิงหรือใครก็ตามต้องถูกเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความยุติธรรมกับเรื่องพวกนี้ หนูคิดว่าถ้าผู้ชายทำอะไรก็ได้ ไม่ต้องสนใจถึงความรู้สึกหรือชีวิตของผู้หญิง และเป็นผู้หญิงเองต้องมารับผลของการกระทำอยู่ฝ่ายเดียว แล้วสังคมก็ด่า ๆ ๆ แต่กับผู้หญิง หนูคิดว่ามันก็ไม่ถูกต้องนะคะพี่”
เราใช้เวลากับเพื่อนร่วมงานในบ่ายนั้น ฟังเรื่องราวที่เธอได้ช่วยผู้หญิงอีกหลายคน หลังจากที่กลับมา เราก็ยังคิดถึงสิ่งนี้ เรารู้สึกสะเทือนเข้าไปข้างในเพราะเรารับรู้ในการต่อสู้ของผู้หญิงที่เป็นเพื่อนร่วมงานของเรา จริงอยู่เฟมินิสต์หลายคนไม่ได้เรียกตัวเองว่าเฟมินิสต์ พวกเธอไม่เคยรู้ว่ามันมีที่มาที่ไปจากไหนด้วยซ้ำ พวกเธอรู้สึกแค่ว่าอยากทำอะไรให้มันถูกต้อง อยากทำให้ผู้หญิงเหล่านั้นรู้สึกดีขึ้น การกระทำทุกอย่างของพวกเธอจึงชัดเจนและมั่นคงกับแนวทางความคิดที่ยืนหยัดเพื่อความยุติธรรมให้กับผู้หญิง แม้พวกเธอไม่ได้ร่ำเรียนหรือฝึกอบรมเพื่อให้ใครมายอมรับหรือการันตีแนวความคิดนี้ของเธอ แต่พวกเธอแค่รู้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ผู้หญิงไม่ได้เท่าเทียมกันกับผู้ชาย และพวกเธออยากทำให้มันถูกต้อง
เช่นเดียวกันกับเพื่อนร่วมงานของเราคนนี้ เธอไม่ได้เรียกตัวเองว่า เฟมินิสต์ ให้เราได้ยินแต่เธอรู้ว่าเธอจะช่วยและเธอจะทำสิ่งที่ให้ผู้หญิงเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
“ยังไงคะ เล่าให้ฟังหน่อยได้มั้ย” …
วันนี้เป็นวันหยุด อยู่ในช่วงรอยต่อของโปรเจกต์ใหม่ เรากับเพื่อนร่วมงานในทีมอยู่ระหว่างพักงานเลยชวนกันไปนั่งเล่นที่ร้านคาเฟ่ริมคลองแห่งหนึ่งที่อยู่ในละแวกชุมชนของพวกเราเพื่อพักผ่อน
“หนูมีโอกาสฟังเรื่องเมียน้อย เมียหลวงเยอะมากเลยค่ะ ตอนที่หนูดูดวงก่อนหน้านี้”
เราหูผึ่งทันที เมื่อได้ยินว่า เพื่อนร่วมงานของเรามีประสบการณ์การรับฟังผู้หญิงที่มีปัญหามามากมาย แม้เราจะทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่งแล้ว เราก็ยังไม่เคยฟังเรื่องราวนี้ของเธอ
“หนูว่า หนูเข้าใจผู้หญิงที่เป็นเมียน้อยและเมียหลวงนะพี่ หนูคิดว่าชีวิตของพวกเค้าน่าจะมีความสุขขึ้นถ้ามีโอกาสได้เจอกับคนที่เค้ารัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ชายที่เป็นคนรักที่ไม่เห็นแก่ตัว”
เราเลยถามกลับไปว่า แล้วเพื่อนร่วมงานของเราเคยมีผลงานอะไรที่เธอรู้สึกประทับใจมาก ๆ
“หนูเคยพาพี่คนนึงที่มาดูดวงกับหนูไปคลอดลูกค่ะ ตอนนั้นหนูบอกเค้าว่าเค้าจะท้องนะ แต่เค้าก็ไม่เชื่อหนู หนูเข้าใจได้นะคะพี่ หนูเป็นหมอดูทำนายดวง” เธออธิบาย
ตกลง ผู้หญิงคนนั้นเป็นยังไงต่อ เราถามด้วยความเผือกอย่างแรงกล้า “ตกลงพี่เค้าท้องมั้ยคะ”
“อีกเดือนนึงเค้าก็ท้องจริง ๆ ค่ะพี่ ผู้ชายที่มามีอะไรกับเค้าก็มีเมียแล้ว พอผู้ชายรู้ ผู้ชายมันชิ่งหนีหายไปเลย แล้วพี่เค้าก็ไม่ได้ทำอะไรนะ ไม่ได้รู้ว่าจะติดต่อผู้ชายกลับได้ยังไง เค้าคิดเอาเองด้วยว่าวันนึงเค้าอาจจะไปแท้งเอง”
เราถามต่อ “แล้วตอนนั้นน้องช่วยเค้ายังไงต่อ น้องเห็นด้วยกับเรื่องทำแท้งปลอดภัยมั้ยถ้าเค้าไม่พร้อม หรือว่าน้องกลัวบาป”
เพื่อนร่วมงานเราตอบ “หนูเข้าใจเรื่องทำแท้งนะพี่ หนูไม่โอเคเลย ถ้าเด็กต้องเกิดมาแบบไม่พร้อม เพราะหนูคือเด็กคนนั้นของพ่อกับแม่เหมือนกัน หนูก็เลยบอกเค้าไปค่ะพี่ ว่าเค้ามีทางเลือกแบบนี้ที่มันโอเค แต่เค้าก็ไม่ได้เลือกทำทางนี้เลยนะ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้พร้อม เค้าไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะต้องทำยังไงถ้าเด็กคลอดมา”
เรานั่งฟังและพยายามทำความเข้าใจกับปัญหาของผู้หญิงคนนั้นต่อ
“สุดท้ายคือหนูก็พาเค้ามาอยู่ด้วย พาเค้าไปคลอดลูกที่โรงบาล เค้าไม่มีน้ำนม หนูก็ต้องหานมให้เด็ก โชคดีที่มีเพื่อนของพี่เค้าหิ้วกาต้มน้ำร้อนขึ้นรถเมล์มาฝาก เพราะบอกว่าจะเอาไว้ให้พี่แกชงนมให้หลาน คือมันไม่พร้อมเลยค่ะ แต่พอมันผ่านไปหนูคิดแล้วก็ขำตัวเองนะพี่ หนูทำไปได้ยังไงก็ไม่รู้ สุดท้ายหนูเป็นคนตั้งชื่อให้ลูกชายเค้า พาไปแจ้งเกิดเอง เสร็จสรรพเลยค่ะ”
เธอบอกชื่อจริงที่เธอมอบให้เด็กคนนั้นด้วยความภาคภูมิใจพร้อมกับทั้งหัวเราะยาว
“หนูไม่รู้หรอกนะคะ ว่าหนูจะเข้าใจหลักการเฟมินิสต์จริง ๆ รึเปล่า หนูไม่ได้เรียนอะไรพวกนี้มา”
“ในความคิดหนูนะ หนูแค่ไม่อยากเห็นผู้หญิงหรือใครก็ตามต้องถูกเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความยุติธรรมกับเรื่องพวกนี้ หนูคิดว่าถ้าผู้ชายทำอะไรก็ได้ ไม่ต้องสนใจถึงความรู้สึกหรือชีวิตของผู้หญิง และเป็นผู้หญิงเองต้องมารับผลของการกระทำอยู่ฝ่ายเดียว แล้วสังคมก็ด่า ๆ ๆ แต่กับผู้หญิง หนูคิดว่ามันก็ไม่ถูกต้องนะคะพี่”
เราใช้เวลากับเพื่อนร่วมงานในบ่ายนั้น ฟังเรื่องราวที่เธอได้ช่วยผู้หญิงอีกหลายคน หลังจากที่กลับมา เราก็ยังคิดถึงสิ่งนี้ เรารู้สึกสะเทือนเข้าไปข้างในเพราะเรารับรู้ในการต่อสู้ของผู้หญิงที่เป็นเพื่อนร่วมงานของเรา จริงอยู่เฟมินิสต์หลายคนไม่ได้เรียกตัวเองว่าเฟมินิสต์ พวกเธอไม่เคยรู้ว่ามันมีที่มาที่ไปจากไหนด้วยซ้ำ พวกเธอรู้สึกแค่ว่าอยากทำอะไรให้มันถูกต้อง อยากทำให้ผู้หญิงเหล่านั้นรู้สึกดีขึ้น การกระทำทุกอย่างของพวกเธอจึงชัดเจนและมั่นคงกับแนวทางความคิดที่ยืนหยัดเพื่อความยุติธรรมให้กับผู้หญิง แม้พวกเธอไม่ได้ร่ำเรียนหรือฝึกอบรมเพื่อให้ใครมายอมรับหรือการันตีแนวความคิดนี้ของเธอ แต่พวกเธอแค่รู้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ผู้หญิงไม่ได้เท่าเทียมกันกับผู้ชาย และพวกเธออยากทำให้มันถูกต้อง
เช่นเดียวกันกับเพื่อนร่วมงานของเราคนนี้ เธอไม่ได้เรียกตัวเองว่า เฟมินิสต์ ให้เราได้ยินแต่เธอรู้ว่าเธอจะช่วยและเธอจะทำสิ่งที่ให้ผู้หญิงเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
บทความ : รวงทัพพ์ แก้วแกมจันทร์
ตอนอายุ 12 ปี รวงค้นพบว่า บทสนทนาบางเรื่องอย่าง ความตาย การหลงรักคนเพศเดียวกัน และเรื่องอีกจำนวนหนึ่งเป็นเรื่องที่สังคมห้ามให้เด็กตั้งคำถาม รวงจึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อที่จะยืนยันกับสังคมกลับไปว่า ความลับและเรื่องต้องห้ามเหล่านั้นจำเป็นต่อกระบวนการเรียนรู้และการเติบโตของจิตวิญญานในมนุษย์ทุก ๆ คน